ปกรณัมโลกเร้นแฝง องก์ที่ 1: ผจญโลกใต้ขนาน
เด็กทั้งสี่คน ปารีส,อลิซาเบธ อาร์เกีย และเทรเวอร์ อยู่ๆก็ไปมีส่วนเกี่ยวพันกับความวุ่นวายของโลกใต้พิภพ อะไรหรือใครกันแน่คือต้นเหตุของเหตุการณ์ทั้งหมด"
ผู้เข้าชมรวม
3,509
ผู้เข้าชมเดือนนี้
5
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
เรื่องราวนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับฝาแฝดโคร์ลีย์ ที่ชื่อปารีส และอลิซาเบธกับเพื่อนๆ
ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการลักขโมยของสำคัญ
และยังมีเรื่องเลวร้ายมากมายเกิดขึ้น
ถ้าคุณชอบนิยายที่มีความสุขละก็
กรุณาเลือกนิยายเรื่องอื่นอ่านได้ตามสบาย
ด้วยความหวังดี
------------------------------------------
Writer
"ทุกเรื่องราวล้วนมีแง่คิดบางอย่าง ไม่ว่าผมจะประสงค์บอกสิ่งนั้นหรือไม่ก็ตาม เรื่องราวนี้จะสอนเกี่ยวกับโลกที่เราเป็นผู้สร้าง สอนเกี่ยวกับชีวิตที่เราดำรงอยู่ สอนอะไรๆ มากกว่าศีลธรรม คำแนะนำหรือสุภาษิต มนุษย์เราไม่ได้ต้องการรายการสิ่งที่ถูกกับสิ่งที่ผิด ไม่ต้องการตารางบอกสิ่งที่ควรทำกับสิ่งที่ห้ามทำ สิ่งที่เราต้องการคือหนังสือ เวลา และความเงียบ แล้วลืมคำว่า "ห้ามทำ" ไปเสีย"
--------------------------------------
สามารถคอมเม้นต์พูดคุยกับตัวละคร หรือแสดงความคิดเห็นได้ตามอัธยาศัยครับตามสบาย แต่อย่าลืม ถ้าชอบก็กดโหวต
แต่ถ้ารักเหล่าสหายทั้งสี่ กด Favorite นะครับ
------------------------------------------
นิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกของwriter อาจจะมีข้อผิดพลาด หรือไม่ถูกใจ
ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏในเรื่องนี้ เกิดขึ้นจากจินตนาการของไรท์เตอร์เอง ไม่ได้มีที่มาจากข้อมูลจริงแต่อย่างใด
เครดิต SQWEEZ THEME
ผลงานอื่นๆ ของ คนแปลกหน้า (stranger) ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ คนแปลกหน้า (stranger)
"รับวิจารณ์นิยาย โดย สีไทย"
(แจ้งลบ)ชื่อเรื่อง : น่าสนใจและดึงดูดได้มากเลยค่ะ โดยเฉพาะคำว่า เร้นแฝง ให้ความรู้สึกลึกลับบอกไม่ถูก แถมสอดคล้องกับเนื้อเรื่องดีด้วย ในส่วนนี้ไม่บกพร่องค่ะ (จะว่าไป ขออนุญาตล่วงหน้า และต้องขออภัยมาด้วยนะคะที่กล่าวในบทวิจารณ์ ถึงแม้ในเรื่องท่านผู้แต่งใช้คำว่า VOL.1 แทนคำว่า องค์ แต่หนูก็อยากกล่าวถึงคำว่า องค์ที่ 1 เพราะเกรงว่าท่านผู้แต่งจะเข้าใจผิดไปตลอด ที ... อ่านเพิ่มเติม
ชื่อเรื่อง : น่าสนใจและดึงดูดได้มากเลยค่ะ โดยเฉพาะคำว่า เร้นแฝง ให้ความรู้สึกลึกลับบอกไม่ถูก แถมสอดคล้องกับเนื้อเรื่องดีด้วย ในส่วนนี้ไม่บกพร่องค่ะ (จะว่าไป ขออนุญาตล่วงหน้า และต้องขออภัยมาด้วยนะคะที่กล่าวในบทวิจารณ์ ถึงแม้ในเรื่องท่านผู้แต่งใช้คำว่า VOL.1 แทนคำว่า องค์ แต่หนูก็อยากกล่าวถึงคำว่า องค์ที่ 1 เพราะเกรงว่าท่านผู้แต่งจะเข้าใจผิดไปตลอด ที่ถูกคือคำว่า องก์ที่ 1 ค่ะ คำว่า องค์ หมายถึง น. ส่วนของร่างกาย อวัยวะ ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์) ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย , ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์ (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณรนักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป. ส. องฺค). ซึ่งที่ถูกคือคำว่า องก์ ที่หมายถึง น. ตอนหนึ่ง ๆ ในบทละคร แต่ละตอนอาจมีเพียงฉากเดียวหรือหลายฉากก็ได้ เรื่องย่อ : ถึงจะไม่ถึงกับดึงดูด แต่ก็น่าสนใจมากเลย ในส่วนนี้ไม่บกพร่องค่ะ โครงเรื่อง : ดึงดูดได้ดีมากจริงๆ ตั้งแต่บทอารัมภบทจนถึงตอนล่าสุด หนูรู้สึกได้ถึงความแปลกใหม่ในเรื่อง สนุก ตื่นเต้น ลึกลับและลุ้นได้ตลอด ในส่วนนี้ขอกล่าวไม่มากเพราะดีมากแล้วค่ะ สำนวน การใช้ภาษา การบรรยายและคำผิด : สำนวนเหมือนนิยายแปล และวรรณกรรมเยาวชนเลยค่ะ บรรยายได้อย่างเป็นธรรมชาติและเห็นภาพดีจริงๆ ในส่วนที่บกพร่องคือคำผิด ซึ่งจากที่อ่านมาเป็นความเข้าใจผิดของท่านผู้แต่งเสียส่วนใหญ่ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ที่พบค่ะ (หนูจะใช้สีช่วยนะคะ สีเขียวเปลี่ยนคำ สีแดงพิมพ์ผิด สีม่วงตัดคำ) แต่กระนั่นเขาก็ยังจะชอบหวีให้มันไปในทางเดียวกันเสมอ คำว่า กระนั่น ไม่มีอยู่จริง ที่ถูกคือคำว่า กระนั้น ค่ะ ทันใดนั่นจู่ๆก็มร่างๆ หนึ่ง เผลอไม่ได้เว้นวรรคหลังไม้ยมก และพิมพ์ตกสินะคะ ทันใดนั่นจู่ๆ ก็มีร่างๆ หนึ่ง เพื่อให้เป็นเกิยรติพวกข้าต้องขอแนะนำตัว ที่ถูกคือคำว่า เกียรติ ค่ะ ชายหนุ่มตระเวนออกทกำงานหลายแห่ง เผลอพิมพ์ผิดสินะคะ ที่ถูกคือคำว่า ทำ ค่ะ มีเพียงแสงสลัวๆของดวงจันทร์เท่านั้นที่ช่วยให้เขามองเห็นได้ลางๆ ควรจะเปลี่ยนนะคะ ที่ถูกความหมายของประโยคคือคำว่า ราง ซึ่งหมายถึง ว. จาง, เรื่อๆ , ไม่สว่าง ส่วนคำว่า ลาง หมายถึง น. สิ่งหรือปรากฏการณ์ที่เชื่อกันว่าจะบอกเหตุดีหรือเหตุร้าย มีเพียงแสงสลัวๆ ของดวงจันทร์เท่านั้นที่ช่วยให้เขามองเห็นได้รางๆ เขาจ้องมองดูเธอ คำว่า จ้อง กับ มอง ไม่ได้มีความหมายเหมือนกันนะคะ ถึงจะใช้แสดงกริยา แลดู แต่คำว่า จ้อง ในความหมายของกริยาหมายถึง เพ่งตาดูหรือมุ่งมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จ้องหน้า มุ่งคอยจนกว่าจะได้ช่อง คอยที เช่น จ้องจับผิด จ้องจะทําร้าย จ้องจะแทง กิริยาที่เอาปืนหรืออาวุธเล็งมุ่งตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ส่วนคำว่า มอง หมายถึง แลดู ซึ่งต่างกับคำว่า จ้อง เพราะคำว่า จ้อง จะแสดงถึงแลดูเฉพาะเจาะจง คำที่หมายถึงแลดูหนูจะแบ่งระดับเฉพาะเจาะจงนะคะ จ้อง เฉพาะเจาะจง ๑๐๐% ดู กึ่งเฉพาะเจาะจง ๕๐% (ถ้านึกไม่ออก ก็นึกถึงดูโทรทัศน์น่ะค่ะ) มอง ไม่เฉพาะเจาะจง ๓๐% อาจจะเจาะจงแต่ไม่ถึงกับเขม็งเท่ากับจ้องและดู ในบางเวลาอาจจะแลดูแบบผ่านเลยไป ฉะนั้นแล้วจึงควรจะเลือกใช้คำอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่างคำว่า จ้อง กับ มอง นะคะ อลิซาเบะถามตัดบทคาฟัน เผลอพิมพ์ผิดสินะคะ ที่ถูกคือคำว่า อลิซาเบธ ค่ะ เดี๋ยวเขาก็ลงไปกินเองแหล่ะ คำว่า แหล่ะ ไม่มีอยู่จริง ที่ถูกคือคำว่า แหละ ซึ่งหมายถึง ว. คําประกอบเพื่อเน้นความ ค่ะ “อรุณสวัสดิ์จ๊ะ” หนูไม่แน่ใจว่าท่านผู้แต่งเผลอพิมพ์ผิดหรือไม่ เพราะที่ถูกของบทพูดนี้คือคำว่า จ้ะ ค่ะ ออกมาจะหนังสือเล่มหนึ่ง ควรจะเปลี่ยนเป็นคำว่า จาก นะคะ คำว่า จะ หมายถึง คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี จ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น แจ้งแจ้ง กร่อนเป็น จะแจ้ง แจ่มแจ่ม กร่อนเป็น จะแจ่ม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้น.เป็นคําช่วยกริยาบอกอนาคต เช่น จะไป จะอยู่ ส่วนคำว่า จาก หมายถึง บ. คํานําหน้านามบอกต้นทางที่มา เช่น ดื่มนํ้าจากแก้ว เขามาจากอยุธยา , ตั้งแต่ สภาพสวนเหมือนยกเอาป่าดงดิบขนาดย่อมๆมาไว้หน้าบ้าน ทีแรกท่านผู้แต่งพิมพ์ถูกแล้วค่ะ แต่น่าเสียดดายที่เปลี่ยนตามที่สมาชิกท่านหนึ่งกล่าว ซึ่งผิดกับความหมายของประโยคค่ะ คำว่า ย่อมๆ หมายถึง คําช่วยกริยา แสดงว่าเป็นไปตามปรกติ ตามธรรมดา หรือ เป็นสามัญทั่ว ๆ ไป เช่น สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วย่อมตาย.ว. มีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่ใหญ่กว่า ที่ถูกความหมายของประโยคนี้คือคำว่า หย่อมๆ ซึ่งหมายถึง น. หมู่เล็ก ๆ กองเล็ก ๆ เช่น หญ้าขึ้นเป็นหย่อม ๆ สภาพสวนเหมือนยกเอาป่าดงดิบขนาดหย่อมๆ มาไว้หน้าบ้าน และยืนมือที่ถือจดหมาย เผลอพิมพ์ตกสินะคะ ที่ถูกคือคำว่า ยื่น ค่ะ กับผมฟูสีน้ำตาลแดง กับเสื้อผ้าที่เหมือนตัดด้วยผ้าม่าน น่าจะเปลี่ยนเป็นคำอื่นอย่างคำว่า และ นะคะ เพราะใช้คำว่า กับ ซ้ำใกล้กันเกินไปน่ะค่ะ บนเพดานมีมีโคมไฟใหญ่อยู่กลางห้องที่มีดอกไม้สีเหลือง,ม่วง และฟ้าพันเกาะเกี่ยวลงมา เผลอพิมพ์ซ้ำสินะคะ อีกอย่างคือ ควรจะตัดจุลภาค (หรือลูกน้ำ) ออกนะคะ ในนิยายหรืองานประพันธ์อื่นไม่จำเป็นต้องใช้ เพียงแค่เว้นวรรคผู้อ่านก็เข้าใจแล้วค่ะ บนเพดานมีโคมไฟใหญ่อยู่กลางห้องที่มีดอกไม้สีเหลือง ม่วง และฟ้าที่พันเกาะเกี่ยวลงมา และเก้าอี้ที่ไม่เหมือน และเข้ากันเลย สี่ตัว คิดว่าจะกล่าวตั้งนานแล้วเรื่องการเว้นวรรค บ่อยครั้งที่ท่านผู้แต่งเว้นวรรคมากไปทั้งๆ ที่สามารถพิมพ์ติดกันได้ เช่นเดียวกับประโยคนี้ จึงอยากโปรดให้ลองอ่านทวนดูอีกทีค่ะ และเก้าอี้ที่ไม่เหมือน และเข้ากันเลยสี่ตัว “วันนี้พ่อทำงานเป็นยังไงบ้างค่ะ” ควรจะเปลี่ยนเป็นคำว่า คะ นะคะ เรื่องการใช้หางเสียงถ้าให้อธิบายคงยาวแน่ ฉะนั้นแล้วท่านผู้แต่งโปรดลองอ่านทวนดูอีกทีและออกเสียงตามนะคะ คะ ออกเสียงตรี ค่ะ ออกเสียงเอกค่ะ เมื่อโดนลูกๆตื้ออย่างนี้นายโคร์ลีย์เลยใจอ่อนเล่าการทำงาน ควรจะเปลี่ยนเป็นคำว่า ตื๊อ (รูปวรรณยุกต์ตรี) นะคะ เพราะคำว่า ตื้อ (รูปวรรณยุกต์โท) หมายถึง ทื่อ, ทึบ ส่วนคำว่า ตื๊อ หมายถึง รบเร้าจะเอาให้ได้, เซ้าซี้รบกวนร่ำไป ฝาแฝดก็ยื่นอยู่ตรงระเบียงทางเดิม พออ่านมาถึงตรงนี้ หนูอดคิดไม่ได้ว่าท่านผู้แต่งเข้าใจผิดหรือเปล่า เพื่อเป็นการป้องกันในคราวต่อไปหนูจะอธิบายนะคะ คำว่า ยืน หมายถึง ก. ตั้งอยู่ เช่น เสายืนเรียงเป็นแถว เอาเท้าเหยียบพื้นแล้วตั้งตัวให้ตรงขึ้นไป. ว. นาน ยาว เช่น อายุยืน ยืด เช่น คบกันยืนนาน ส่วนคำว่า ยื่น หมายถึง ก. กิริยาหรืออาการที่เหยียดหรือเหลื่อมลํ้าออกไป เช่น ยื่นมือ ยื่นซอง มุขยื่นออกจากตัวอาคาร , เสนอ, ส่ง, มอบ เช่น ยื่นเรื่องราว ยื่นบัญชี ยื่นฟ้อง ด้วยสายตารุนแรง ควรจะเปลี่ยนเป็นคำว่า แววตา นะคะ เพราะคำว่า สายตา หมายถึงระยะที่มองเห็น ส่วนคำว่า แววตา หมายถึงสิ่งที่เป็นเยื่อบาง มีลักษณะใสเป็นแสงวาวดั่งแก้วหุ้มด้านนอกของดวงตา ความรู้สึกที่ปรากฏออกทางตาทำให้รู้ว่ารักหรือเกลียดเป็นต้น ท่ามกลางความวุ่นวายย่อมๆ ควรจะเปลี่ยนเป็นคำว่า หย่อมๆ นะคะ (คำนี้ได้อธิบายไว้ก่อนหน้านี้แล้วค่ะ) ให้แฝดคนล่ะแผน ควรจะเปลี่ยนเป็นคำว่า ละ นะคะ หลักการใช้นั้นไม่ค่อยมีกฎเกณฑ์เท่าคำว่า คะ ค่ะ ฉะนั้นแล้วลองอ่านทวนตามดูนะคะ ละ ออกเสียงตรี ล่ะ ออกเสียงเอกค่ะ “เข้ามาเลยจ๊ะ” ตรงนี้ก็กรณีเดียวกับการใช้คำว่า คะ ค่ะ บทพูดนี้ควรจะเปลี่ยนเป็นคำว่า จ้ะ ค่ะ หากไม่แน่ใจว่าใช้อย่างไรก็ลองอ่านทวนอีกทีนะคะ จ๊ะ ออกเสียงตรี จ้ะ ออกเสียงเอกค่ะ ต่อจากนี้จะไม่อธิบายแล้วนะคะ แต่หากตรงไหนยังไม่ได้อธิบายจะกล่าวอีกทีค่ะ “แนะนำตัวเลยจ๊ะ” “แนะนำตัวเลยจ้ะ” ท่ามกลางความดำมืดฯฯ คำนี้หนูไม่ใจว่าท่านผู้แต่งจะใช้คำไหน ลองทวนดูอีกทีนะคะ อลิซาเบธ, อาร์เกีย, ปารีส และเทรเวอร์เอ่ยพร้อมกัน ควรจะตัดจุลภาค (หรือลูกน้ำ) ออกนะคะ ส่วนเหตุผลนั้นได้อธิบายไปแล้วค่ะ เขาเริ่มได้ยินเสียงของเทรเวอร์และเด็กทั้งสองดังแววๆ มา เผลอพิมพ์ตกสินะคะ ที่ถูกคือคำว่า แว่วๆ ค่ะ “ไฟพิธีน่ะเหรอ ทำไดสิ” เผลอพิมพ์ตกสินะคะ ที่ถูกคือคำว่า ได้ ค่ะ จะมีบางวันที่เป็นวันพิเศษสำหรับผู้ใช้เวทย์ ควรจะเปลี่ยนเป็นคำว่า เวท นะคะ เพราะคำว่า เวทย์ หมายถึง พึงรู้, ควรรู้ ค่ะ ตัวละคร : มีเอกลักษณ์และเสน่ห์มากจริงๆ สำหรับหนูแล้วชอบคู่แฝดจริงๆ จิกกัดกันได้น่ารักน่าชังจริง บางคำที่สนทนากันทำเอาหนูอมยิ้มเลยค่ะ หากแนะนำหรือบอกข้อบกพร่องผิดไปก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ขอบคุณจริงๆ ค่ะที่ฝากวิจารณ์ โอกาสหน้ามาใช้บริการใหม่ได้นะคะ อ่านน้อยลง
สีไทย | 14 ธ.ค. 57
4
0
"[Stand] รับวิจารณ์นิยายค่ะ"
(แจ้งลบ)ชื่อเรื่อง (9/10) ภาษาสวยน่าติดตามค่ะ คำว่าโลกเร้นแฝงชวนให้ดูน่าค้นหาและเป็นจุดดึงดูดนักอ่านได้ค่อนข้างดีเลยล่ะค่ะ คำโปรย (9/10) สรุปก็ประมาณว่า เด็กสี่คนถูกโยงไปพัวพันกับโลกที่ซ่อนอยู่ โปยได้น่าสนใจค่ะ โปรยได้สวย ช่วยดึงดูดนักอ่านให้ติดตามอ่านต่อไปอีกทอดหนึ่ง ภาษาใช้ได้ดีพอสมควรค่ะ ของตกแต่ง (9/10) สีมืด ๆ ทำให้ดูดูลึกลับ สอดคล้องกับ ... อ่านเพิ่มเติม
ชื่อเรื่อง (9/10) ภาษาสวยน่าติดตามค่ะ คำว่าโลกเร้นแฝงชวนให้ดูน่าค้นหาและเป็นจุดดึงดูดนักอ่านได้ค่อนข้างดีเลยล่ะค่ะ คำโปรย (9/10) สรุปก็ประมาณว่า เด็กสี่คนถูกโยงไปพัวพันกับโลกที่ซ่อนอยู่ โปยได้น่าสนใจค่ะ โปรยได้สวย ช่วยดึงดูดนักอ่านให้ติดตามอ่านต่อไปอีกทอดหนึ่ง ภาษาใช้ได้ดีพอสมควรค่ะ ของตกแต่ง (9/10) สีมืด ๆ ทำให้ดูดูลึกลับ สอดคล้องกับเรื่องและคำโปรยเกี่ยวกับโลกที่เร้นแฝงตัว เพิ่มเสน่ห์ให้เนื้อเรื่องได้ดีค่ะ โครงเรื่อง (9/10) โครงเรื่องออกแนวไปทางโลกเวทมนตร์เลยสินะคะ โลกที่มีสิ่งมีชีวิตอื่นอยู่โดยที่นอร์มอลอย่างแสตนด์ไม่รู้ตัว พอรวมกับการบรรยายทำให้น่าสนใจมากค่ะ คำผิด (8/10) เห็นหลายคำเลยค่ะ แต่ไม่ค่อยสะดุดเท่าไหร่ในภาพรวม ที่สะดุดจัง ๆ ก็มีตอนที่ 4 คำว่า นะค่ะ ซึ่งน่าจะใช้นะคะมากกว่า การดำเนินเรื่อง (8/10) ดำเนินได้ไหลไปเรื่อย ๆ สบาย ๆ ไม่ค่อยเครียดดีค่ะ การจัดย่อหน้าและฟ้อนท์ตัวหนังสือก็อ่านง่าย อ่านสบายตามากซึ่งเป็นจุดเสริมของการดำเนินเรื่องที่แสตนด์พูดถึงบ่อย ๆ ไหลไปเรื่อย ๆ น่าสนใจค่ะ เพราะชวนให้ติดตามเกี่ยวกับโลกเร้นแฝงแฟนตาซีเวทมนตร์นี้ไปจนกระทั่งจบ แต่ให้ระวังตรงคำซ้ำเช่นคำว่า เขา ซึ่งถ้าซ้ำเกินไปจะให้ความรู้สึกซ้ำซากและอารมณ์หมดนิด ๆ น่ะค่ะ เท่าที่อ่าน 5 ตอนแรกก็สรุปได้ประมาณนี้ค่ะ ขอบคุณที่มาใช้บริการนะคะ อ่านน้อยลง
แสตนด์ เฮ้! | 1 พ.ย. 57
2
0
ดูทั้งหมด
"คำวิจารณ์จาก รับวิจารณ์นิยายสไตล์ 13"
(แจ้งลบ)สวัสดีครับคุณจิ้งจอกพระราชา ก่อนอื่นต้องขอบอกเลยว่านิยายเรื่องนี้น่าสนใจมากครับ เป็นนิยายแฟนตาซีที่อ่านแล้วรู้สึกสนุก ภาษาลื่นไหลเป็นธรรมชาติ แต่ก็ต้องขออภัยจริงๆ ที่ผมอ่านและวิจารณ์ได้แค่แปดบทเท่านั้น เพราะถ้ามากเกินไปจะกินเวลานาน และจะทำให้ลูกค้าท่านอื่นต้องรอครับ(ผมแอดFavourite เรื่องนี้ไว้ด้วยแหละ จะได้ติดตามต่อเรื่อยๆ ^^) เอาล่ะ ดูกันครับว่า ... อ่านเพิ่มเติม
สวัสดีครับคุณจิ้งจอกพระราชา ก่อนอื่นต้องขอบอกเลยว่านิยายเรื่องนี้น่าสนใจมากครับ เป็นนิยายแฟนตาซีที่อ่านแล้วรู้สึกสนุก ภาษาลื่นไหลเป็นธรรมชาติ แต่ก็ต้องขออภัยจริงๆ ที่ผมอ่านและวิจารณ์ได้แค่แปดบทเท่านั้น เพราะถ้ามากเกินไปจะกินเวลานาน และจะทำให้ลูกค้าท่านอื่นต้องรอครับ(ผมแอดFavourite เรื่องนี้ไว้ด้วยแหละ จะได้ติดตามต่อเรื่อยๆ ^^) เอาล่ะ ดูกันครับว่าผมจะวิจารณ์ตรงไหนบ้าง 1. ชื่อเรื่อง - ปกรณัมโลกเร้นแฝง องก์ที่ 1 โลกใต้ขนาน อาจเพราะผมยังอ่านไม่ได้มาก เลยยังไม่เข้าใจว่าชื่อเรื่องกับเนื้อเรื่องสัมพันธ์กันมากแค่ไหน แต่ถ้าลองอ่านดูจากความหมายผมว่ามันก็ดูลึกลับและน่าสนใจดีครับ ตอนแรกผมแอบคิดด้วยแหละว่าเรื่องนี้คงเป็นนิยายแฟนตาซีสายดาร์คพีเรียด มีอัศวิน เจ้าหญิงเจ้าชายไรแบบนี้555 2. พล็อต ผมวิจารณ์ได้แค่พล็อตที่เห็นได้จากแปดบทแรกเท่านั้นนะครับ...แก่นหลักของเรื่องเกี่ยวกับเหล่าผู้มีพลังเหนือธรรมชาติที่อาศัยแฝงกายอยู่ในโลกมนุษย์ และอาจรวมไปถึงโลกอื่นที่เหมือนจะมีบอกกลายๆ ว่าในอนาคตตัวเอกของเรื่องจะได้ไปผจญภัยในนั้นแน่ เป็นพล็อตวรรณกรรมเยาวชนที่น่าสนใจ ถึงจะไม่ได้แปลกใหม่แต่คงเพราะภาษาที่ลื่นไหลและการดำเนินเรื่องอย่าน่าสนุกทำให้อยากอ่านตอนต่อไปเรื่อยๆ ครับ(คงเพราะผมเองก็เป็นคอแฟนตาซีด้วยแหละ55) 3. เนื้อเรื่อง ((ส่วนนี้จะพูดถึงตั้งแต่การจัดหน้า การเว้นวรรค ความสมเหตุสมผลของแต่ละบท และปลีกย่อยอื่นๆ ครับ) - ภาพรวม เนื้อเรื่องดำเนินในยุคปัจจุบัน ธีมของเรื่องเองก็เป็นต่างประเทศ ขอชื่นชมคุณจิ้งจอกฯ ที่บรรยายอะไรต่างๆ ในเนื้อเรื่องได้สมจริงดีครับ คงเป็นเพราะหาข้อมูลมาดีแล้ว แต่ก็มีบางอย่างที่สงสัยหน่อย เกี่ยวกับความคิดของตัวละครที่เป็นคาเซนอย่างพ่อแม่ของคู่แฝด แล้วก็คุณนายเกรซ คนว่าทำไมเขายังกลัวการโดนพวกนอร์มอลหรือมนุษย์ธรรมดาจับไปเผาไฟหรือถ่วงน้ำอะไรแบบนั้นอีก ในเมื่อนี่มันคือยุคปัจจุบัน และสถานที่ดำเนินเรื่องก็เป็นนิวยอร์ค เมืองหลวงของประเทศที่เจริญแล้วอย่างอเมริกา ดูมันไม่น่ามีอะไรแบบนั้นได้ล่ะครับ ถ้าจะหาเหตุผลเรื่องกลัวโดนคนอื่นจับฐานะตัวเองได้น่าจะเป็นอย่างอื่นมากกว่า อีกอย่างหนึ่งคือตัวหนังสือในเรื่องใช้ฟ้อนท์ตัวใหญ่ ทำให้ไม่มีปัญหาในการอ่านมากนัก แต่อยากให้ดูเรื่องย่อหน้าหน่อยครับ บางบรรทัดติดกันเป็นพรืด แต่บางจุดกลับเว้นหนึ่งบรรทัดเพื่อขึ้นย่อหน้าใหม่ซะงั้น **สามารถอ่านบทวิจารณ์ฉบับเต็มได้ในบทความของผมครับ ^^ อ่านน้อยลง
Thireteen1313 | 17 ต.ค. 58
2
0
"รับวิจารณ์นิยาย โดย สีไทย"
(แจ้งลบ)ชื่อเรื่อง : น่าสนใจและดึงดูดได้มากเลยค่ะ โดยเฉพาะคำว่า เร้นแฝง ให้ความรู้สึกลึกลับบอกไม่ถูก แถมสอดคล้องกับเนื้อเรื่องดีด้วย ในส่วนนี้ไม่บกพร่องค่ะ (จะว่าไป ขออนุญาตล่วงหน้า และต้องขออภัยมาด้วยนะคะที่กล่าวในบทวิจารณ์ ถึงแม้ในเรื่องท่านผู้แต่งใช้คำว่า VOL.1 แทนคำว่า องค์ แต่หนูก็อยากกล่าวถึงคำว่า องค์ที่ 1 เพราะเกรงว่าท่านผู้แต่งจะเข้าใจผิดไปตลอด ที ... อ่านเพิ่มเติม
ชื่อเรื่อง : น่าสนใจและดึงดูดได้มากเลยค่ะ โดยเฉพาะคำว่า เร้นแฝง ให้ความรู้สึกลึกลับบอกไม่ถูก แถมสอดคล้องกับเนื้อเรื่องดีด้วย ในส่วนนี้ไม่บกพร่องค่ะ (จะว่าไป ขออนุญาตล่วงหน้า และต้องขออภัยมาด้วยนะคะที่กล่าวในบทวิจารณ์ ถึงแม้ในเรื่องท่านผู้แต่งใช้คำว่า VOL.1 แทนคำว่า องค์ แต่หนูก็อยากกล่าวถึงคำว่า องค์ที่ 1 เพราะเกรงว่าท่านผู้แต่งจะเข้าใจผิดไปตลอด ที่ถูกคือคำว่า องก์ที่ 1 ค่ะ คำว่า องค์ หมายถึง น. ส่วนของร่างกาย อวัยวะ ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์) ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย , ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์ (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณรนักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป. ส. องฺค). ซึ่งที่ถูกคือคำว่า องก์ ที่หมายถึง น. ตอนหนึ่ง ๆ ในบทละคร แต่ละตอนอาจมีเพียงฉากเดียวหรือหลายฉากก็ได้ เรื่องย่อ : ถึงจะไม่ถึงกับดึงดูด แต่ก็น่าสนใจมากเลย ในส่วนนี้ไม่บกพร่องค่ะ โครงเรื่อง : ดึงดูดได้ดีมากจริงๆ ตั้งแต่บทอารัมภบทจนถึงตอนล่าสุด หนูรู้สึกได้ถึงความแปลกใหม่ในเรื่อง สนุก ตื่นเต้น ลึกลับและลุ้นได้ตลอด ในส่วนนี้ขอกล่าวไม่มากเพราะดีมากแล้วค่ะ สำนวน การใช้ภาษา การบรรยายและคำผิด : สำนวนเหมือนนิยายแปล และวรรณกรรมเยาวชนเลยค่ะ บรรยายได้อย่างเป็นธรรมชาติและเห็นภาพดีจริงๆ ในส่วนที่บกพร่องคือคำผิด ซึ่งจากที่อ่านมาเป็นความเข้าใจผิดของท่านผู้แต่งเสียส่วนใหญ่ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ที่พบค่ะ (หนูจะใช้สีช่วยนะคะ สีเขียวเปลี่ยนคำ สีแดงพิมพ์ผิด สีม่วงตัดคำ) แต่กระนั่นเขาก็ยังจะชอบหวีให้มันไปในทางเดียวกันเสมอ คำว่า กระนั่น ไม่มีอยู่จริง ที่ถูกคือคำว่า กระนั้น ค่ะ ทันใดนั่นจู่ๆก็มร่างๆ หนึ่ง เผลอไม่ได้เว้นวรรคหลังไม้ยมก และพิมพ์ตกสินะคะ ทันใดนั่นจู่ๆ ก็มีร่างๆ หนึ่ง เพื่อให้เป็นเกิยรติพวกข้าต้องขอแนะนำตัว ที่ถูกคือคำว่า เกียรติ ค่ะ ชายหนุ่มตระเวนออกทกำงานหลายแห่ง เผลอพิมพ์ผิดสินะคะ ที่ถูกคือคำว่า ทำ ค่ะ มีเพียงแสงสลัวๆของดวงจันทร์เท่านั้นที่ช่วยให้เขามองเห็นได้ลางๆ ควรจะเปลี่ยนนะคะ ที่ถูกความหมายของประโยคคือคำว่า ราง ซึ่งหมายถึง ว. จาง, เรื่อๆ , ไม่สว่าง ส่วนคำว่า ลาง หมายถึง น. สิ่งหรือปรากฏการณ์ที่เชื่อกันว่าจะบอกเหตุดีหรือเหตุร้าย มีเพียงแสงสลัวๆ ของดวงจันทร์เท่านั้นที่ช่วยให้เขามองเห็นได้รางๆ เขาจ้องมองดูเธอ คำว่า จ้อง กับ มอง ไม่ได้มีความหมายเหมือนกันนะคะ ถึงจะใช้แสดงกริยา แลดู แต่คำว่า จ้อง ในความหมายของกริยาหมายถึง เพ่งตาดูหรือมุ่งมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จ้องหน้า มุ่งคอยจนกว่าจะได้ช่อง คอยที เช่น จ้องจับผิด จ้องจะทําร้าย จ้องจะแทง กิริยาที่เอาปืนหรืออาวุธเล็งมุ่งตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ส่วนคำว่า มอง หมายถึง แลดู ซึ่งต่างกับคำว่า จ้อง เพราะคำว่า จ้อง จะแสดงถึงแลดูเฉพาะเจาะจง คำที่หมายถึงแลดูหนูจะแบ่งระดับเฉพาะเจาะจงนะคะ จ้อง เฉพาะเจาะจง ๑๐๐% ดู กึ่งเฉพาะเจาะจง ๕๐% (ถ้านึกไม่ออก ก็นึกถึงดูโทรทัศน์น่ะค่ะ) มอง ไม่เฉพาะเจาะจง ๓๐% อาจจะเจาะจงแต่ไม่ถึงกับเขม็งเท่ากับจ้องและดู ในบางเวลาอาจจะแลดูแบบผ่านเลยไป ฉะนั้นแล้วจึงควรจะเลือกใช้คำอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่างคำว่า จ้อง กับ มอง นะคะ อลิซาเบะถามตัดบทคาฟัน เผลอพิมพ์ผิดสินะคะ ที่ถูกคือคำว่า อลิซาเบธ ค่ะ เดี๋ยวเขาก็ลงไปกินเองแหล่ะ คำว่า แหล่ะ ไม่มีอยู่จริง ที่ถูกคือคำว่า แหละ ซึ่งหมายถึง ว. คําประกอบเพื่อเน้นความ ค่ะ “อรุณสวัสดิ์จ๊ะ” หนูไม่แน่ใจว่าท่านผู้แต่งเผลอพิมพ์ผิดหรือไม่ เพราะที่ถูกของบทพูดนี้คือคำว่า จ้ะ ค่ะ ออกมาจะหนังสือเล่มหนึ่ง ควรจะเปลี่ยนเป็นคำว่า จาก นะคะ คำว่า จะ หมายถึง คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี จ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น แจ้งแจ้ง กร่อนเป็น จะแจ้ง แจ่มแจ่ม กร่อนเป็น จะแจ่ม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้น.เป็นคําช่วยกริยาบอกอนาคต เช่น จะไป จะอยู่ ส่วนคำว่า จาก หมายถึง บ. คํานําหน้านามบอกต้นทางที่มา เช่น ดื่มนํ้าจากแก้ว เขามาจากอยุธยา , ตั้งแต่ สภาพสวนเหมือนยกเอาป่าดงดิบขนาดย่อมๆมาไว้หน้าบ้าน ทีแรกท่านผู้แต่งพิมพ์ถูกแล้วค่ะ แต่น่าเสียดดายที่เปลี่ยนตามที่สมาชิกท่านหนึ่งกล่าว ซึ่งผิดกับความหมายของประโยคค่ะ คำว่า ย่อมๆ หมายถึง คําช่วยกริยา แสดงว่าเป็นไปตามปรกติ ตามธรรมดา หรือ เป็นสามัญทั่ว ๆ ไป เช่น สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วย่อมตาย.ว. มีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่ใหญ่กว่า ที่ถูกความหมายของประโยคนี้คือคำว่า หย่อมๆ ซึ่งหมายถึง น. หมู่เล็ก ๆ กองเล็ก ๆ เช่น หญ้าขึ้นเป็นหย่อม ๆ สภาพสวนเหมือนยกเอาป่าดงดิบขนาดหย่อมๆ มาไว้หน้าบ้าน และยืนมือที่ถือจดหมาย เผลอพิมพ์ตกสินะคะ ที่ถูกคือคำว่า ยื่น ค่ะ กับผมฟูสีน้ำตาลแดง กับเสื้อผ้าที่เหมือนตัดด้วยผ้าม่าน น่าจะเปลี่ยนเป็นคำอื่นอย่างคำว่า และ นะคะ เพราะใช้คำว่า กับ ซ้ำใกล้กันเกินไปน่ะค่ะ บนเพดานมีมีโคมไฟใหญ่อยู่กลางห้องที่มีดอกไม้สีเหลือง,ม่วง และฟ้าพันเกาะเกี่ยวลงมา เผลอพิมพ์ซ้ำสินะคะ อีกอย่างคือ ควรจะตัดจุลภาค (หรือลูกน้ำ) ออกนะคะ ในนิยายหรืองานประพันธ์อื่นไม่จำเป็นต้องใช้ เพียงแค่เว้นวรรคผู้อ่านก็เข้าใจแล้วค่ะ บนเพดานมีโคมไฟใหญ่อยู่กลางห้องที่มีดอกไม้สีเหลือง ม่วง และฟ้าที่พันเกาะเกี่ยวลงมา และเก้าอี้ที่ไม่เหมือน และเข้ากันเลย สี่ตัว คิดว่าจะกล่าวตั้งนานแล้วเรื่องการเว้นวรรค บ่อยครั้งที่ท่านผู้แต่งเว้นวรรคมากไปทั้งๆ ที่สามารถพิมพ์ติดกันได้ เช่นเดียวกับประโยคนี้ จึงอยากโปรดให้ลองอ่านทวนดูอีกทีค่ะ และเก้าอี้ที่ไม่เหมือน และเข้ากันเลยสี่ตัว “วันนี้พ่อทำงานเป็นยังไงบ้างค่ะ” ควรจะเปลี่ยนเป็นคำว่า คะ นะคะ เรื่องการใช้หางเสียงถ้าให้อธิบายคงยาวแน่ ฉะนั้นแล้วท่านผู้แต่งโปรดลองอ่านทวนดูอีกทีและออกเสียงตามนะคะ คะ ออกเสียงตรี ค่ะ ออกเสียงเอกค่ะ เมื่อโดนลูกๆตื้ออย่างนี้นายโคร์ลีย์เลยใจอ่อนเล่าการทำงาน ควรจะเปลี่ยนเป็นคำว่า ตื๊อ (รูปวรรณยุกต์ตรี) นะคะ เพราะคำว่า ตื้อ (รูปวรรณยุกต์โท) หมายถึง ทื่อ, ทึบ ส่วนคำว่า ตื๊อ หมายถึง รบเร้าจะเอาให้ได้, เซ้าซี้รบกวนร่ำไป ฝาแฝดก็ยื่นอยู่ตรงระเบียงทางเดิม พออ่านมาถึงตรงนี้ หนูอดคิดไม่ได้ว่าท่านผู้แต่งเข้าใจผิดหรือเปล่า เพื่อเป็นการป้องกันในคราวต่อไปหนูจะอธิบายนะคะ คำว่า ยืน หมายถึง ก. ตั้งอยู่ เช่น เสายืนเรียงเป็นแถว เอาเท้าเหยียบพื้นแล้วตั้งตัวให้ตรงขึ้นไป. ว. นาน ยาว เช่น อายุยืน ยืด เช่น คบกันยืนนาน ส่วนคำว่า ยื่น หมายถึง ก. กิริยาหรืออาการที่เหยียดหรือเหลื่อมลํ้าออกไป เช่น ยื่นมือ ยื่นซอง มุขยื่นออกจากตัวอาคาร , เสนอ, ส่ง, มอบ เช่น ยื่นเรื่องราว ยื่นบัญชี ยื่นฟ้อง ด้วยสายตารุนแรง ควรจะเปลี่ยนเป็นคำว่า แววตา นะคะ เพราะคำว่า สายตา หมายถึงระยะที่มองเห็น ส่วนคำว่า แววตา หมายถึงสิ่งที่เป็นเยื่อบาง มีลักษณะใสเป็นแสงวาวดั่งแก้วหุ้มด้านนอกของดวงตา ความรู้สึกที่ปรากฏออกทางตาทำให้รู้ว่ารักหรือเกลียดเป็นต้น ท่ามกลางความวุ่นวายย่อมๆ ควรจะเปลี่ยนเป็นคำว่า หย่อมๆ นะคะ (คำนี้ได้อธิบายไว้ก่อนหน้านี้แล้วค่ะ) ให้แฝดคนล่ะแผน ควรจะเปลี่ยนเป็นคำว่า ละ นะคะ หลักการใช้นั้นไม่ค่อยมีกฎเกณฑ์เท่าคำว่า คะ ค่ะ ฉะนั้นแล้วลองอ่านทวนตามดูนะคะ ละ ออกเสียงตรี ล่ะ ออกเสียงเอกค่ะ “เข้ามาเลยจ๊ะ” ตรงนี้ก็กรณีเดียวกับการใช้คำว่า คะ ค่ะ บทพูดนี้ควรจะเปลี่ยนเป็นคำว่า จ้ะ ค่ะ หากไม่แน่ใจว่าใช้อย่างไรก็ลองอ่านทวนอีกทีนะคะ จ๊ะ ออกเสียงตรี จ้ะ ออกเสียงเอกค่ะ ต่อจากนี้จะไม่อธิบายแล้วนะคะ แต่หากตรงไหนยังไม่ได้อธิบายจะกล่าวอีกทีค่ะ “แนะนำตัวเลยจ๊ะ” “แนะนำตัวเลยจ้ะ” ท่ามกลางความดำมืดฯฯ คำนี้หนูไม่ใจว่าท่านผู้แต่งจะใช้คำไหน ลองทวนดูอีกทีนะคะ อลิซาเบธ, อาร์เกีย, ปารีส และเทรเวอร์เอ่ยพร้อมกัน ควรจะตัดจุลภาค (หรือลูกน้ำ) ออกนะคะ ส่วนเหตุผลนั้นได้อธิบายไปแล้วค่ะ เขาเริ่มได้ยินเสียงของเทรเวอร์และเด็กทั้งสองดังแววๆ มา เผลอพิมพ์ตกสินะคะ ที่ถูกคือคำว่า แว่วๆ ค่ะ “ไฟพิธีน่ะเหรอ ทำไดสิ” เผลอพิมพ์ตกสินะคะ ที่ถูกคือคำว่า ได้ ค่ะ จะมีบางวันที่เป็นวันพิเศษสำหรับผู้ใช้เวทย์ ควรจะเปลี่ยนเป็นคำว่า เวท นะคะ เพราะคำว่า เวทย์ หมายถึง พึงรู้, ควรรู้ ค่ะ ตัวละคร : มีเอกลักษณ์และเสน่ห์มากจริงๆ สำหรับหนูแล้วชอบคู่แฝดจริงๆ จิกกัดกันได้น่ารักน่าชังจริง บางคำที่สนทนากันทำเอาหนูอมยิ้มเลยค่ะ หากแนะนำหรือบอกข้อบกพร่องผิดไปก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ขอบคุณจริงๆ ค่ะที่ฝากวิจารณ์ โอกาสหน้ามาใช้บริการใหม่ได้นะคะ อ่านน้อยลง
สีไทย | 14 ธ.ค. 57
4
0
ดูทั้งหมด
ความคิดเห็น